วันอาทิตย์ที่ 13 มิถุนายน พ.ศ. 2564

ระบบรีเวอร์สออสโมซิส (RO) ລະບົບຣີເວີຊໂອຊໂມຊີບສ

ระบบรีเวอร์สออสโมซิส (RO)
ລະບົບຣີເວີຊໂອຊໂມຊີບສ

กลไกหลักๆคือปั๊มแรงดันสูงและเยื่อเมมเบรนที่มีเนื้อละเอียดมากถึง 0.0001 ไมครอน จึงทำให้โมเลกุลของสารละลายในน้ำลอดผ่านไม่ได้ จะผ่านได้เพียงโมเลกุลของน้ำบริสุทธิ์เท่านั้น โมเลกุลของสารพิษ หรือเชื้อแบคทีเรียไวรัสและโลหะต่างๆ จะมีขนาดใหญ่กว่า 0.0001 ไมครอน ทั้งนั้น จึงไม่สามารถผ่านไปได้ ซึ่งในระบบนี้จะได้น้ำบริสุทธ์ประมาณ 30-80% ส่วนที่เหลือจะไหลย้อนกลับออกไป

ดังนั้นคุณภาพของน้ำทีไหลผ่านเยื่อเมมเบรน จะมีควา

มสะอาดบริสุทธ์ และปราศจากเชื้อโรคอย่างแน่นอน

คุณสมบัติของ RO

ลดความเสี่ยงสารพิษ, สารตกค้าง, ยาฆ่าแมลง, ปุ๋ย , เคมีที่แฝงอยู่ในแหล่งน้ำ, เชื้อราต่างๆ

วันอังคารที่ 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2564

วันศุกร์ที่ 14 พฤษภาคม พ.ศ. 2564

"สปุตนิก วี" วัคซีนโควิดตัวเลือกใหม่ ประสิทธิภาพต่อสู้กับไวรัสกลายพันธุ์

"สปุตนิก วี" วัคซีนโควิดตัวเลือกใหม่ ประสิทธิภาพต่อสู้กับไวรัสกลายพันธุ์

สปุตนิก วี" (Sputnik V) วัคซีนโควิดของรัสเซีย ตั้งชื่อตามดาวเทียมรูปทรงกลมขนาดเท่าลูกบาสเกตบอล ถูกส่งขึ้นสู่อวกาศดวงแรกของโลก เมื่อวันที่ 5 ตุลาคม ค.ศ. 1957 หรือ พ.ศ. 2500 เป็นหนึ่งในวัคซีนที่ไทยกำลังจะนำเข้ามาเพิ่มเติม ฉีดให้กับคนไทย ตั้งเป้าต้องฉีดให้ครอบคลุม 50 ล้านคน เพื่อสร้างภูมิคุ้มกันหมู่


การเจรจารัฐต่อรัฐ ระหว่างไทยกับรัสเซีย ประสบความสำเร็จในที่สุด เมื่อรัสเซียยินดีให้การสนับสนุน และขณะนี้วัคซีน ”สปุตนิก วี” ยื่นขอขึ้นทะเบียนกับอย.แล้ว ในนามบริษัท คินเจน ไบโอเทค จำกัด เช่นเดียวกับวัคซีนโมเดอร์นา ของสหรัฐฯ ในนามบริษัท ซิลลิค ฟาร์มา จำกัด คาดว่าวัคซีนทั้ง 2 ยี่ห้อ จะได้รับการอนุมัติเร็วๆ นี้

วัคซีน “สปุตนิก วี” (Sputnik V) ไม่ได้อ่านว่า “สปุตนิก ไฟว์” โดย “V” ย่อมาจาก “Vaccine” จากการระบุของ คิริล ดมิเตรียฟ ซีอีโอกองทุนเพื่อการลงทุนโดยตรงแห่งรัสเซีย ไม่ใช่ “V” เลข 5 โรมัน อย่างที่เคยเข้าใจผิดกันมาในช่วงแรก และที่ผ่านมาหลายประเทศทั่วโลกอนุมัติให้ใช้ในภาวะฉุกเฉิน ยกเว้นยุโรปยังคงไม่อนุมัติ รวมถึงบราซิล เพราะยังขาดข้อมูลยืนยันความปลอดภัย คุณภาพ และประสิทธิภาพ


วัคซีนชนิดนี้ผลิตในรูปแบบไวรัลเวกเตอร์ (Viral vector) เช่นเดียวกับวัคซีนของแอสตราเซเนกา ต้องฉีด 2 เข็มเหมือนกัน แต่แตกต่างกันที่พาหะตัวนำของแอสตราเซเนกา ใช้อะดิโนไวรัสของลิงชิมแปนซี ส่วนสปุตนิก วี ใช้อะดิโนไวรัสก่อโรคในมนุษย์ 2 ตัว ใช้ฉีดเข็มแรก และเข็มที่ 2 ซึ่งต่างชนิดกัน ป้องกันภูมิต้านทานจากเข็มแรก จะไปรบกวนการสร้างภูมิต้านทานในเข็มที่ 2 ทำให้วัคซีนของรัสเซีย มีประสิทธิภาพค่อนข้างสูง กว่าวัคซีนแอสตราเซเนกา


หากไม่มีข้อผิดพลาดใดๆ “สปุตนิก วี” จะเป็นวัคซีนโควิดตัวเลือกใหม่สำหรับคนไทยในไม่ช้านี้ “ดร.อนันต์ จงแก้ววัฒนา” ผู้อำนวยการกลุ่มวิจัยนวัตกรรมสุขภาพสัตว์และการจัดการ ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ ในฐานะนักไวรัสวิทยา อธิบายเพิ่มเติมว่า วัคซีนชนิดนี้พัฒนาโดยใช้รูปแบบของไวรัลเวกเตอร์ ปรับพันธุกรรมของอะดิโนไวรัส ซึ่งเป็นไวรัสที่ติดมนุษย์แล้วเป็นไข้หวัด ดังนั้นเราจะไม่เป็นหวัด เนื่องจากไวรัสไปต่อไม่ได้ แต่หลังจากที่ติดเข้าร่างกาย กลไกของไวรัสจะสามารถสร้างโปรตีนต่างๆ ที่อยู่ในสารพันธุกรรมของไวรัสในเซลล์ที่ติดเข้าไปได้


“ทีมวิจัยรัสเซีย ได้นำเอายีนที่สร้างโปรตีนสไปค์ของไวรัสโรคโควิด มาฝากไว้กับไวรัสชนิดนี้ เพราะช่วงที่ฉีดและติดเซลล์ในร่างกายเรา กลไกของไวรัส จะสร้างโปรตีนสไปค์นั้นให้ร่างกายเราเห็น และกระตุ้นภูมิขึ้นมาได้”วัคซีน “สปุตนิก วี” ออกแบบ 2 เข็ม โดยเข็มแรกใช้อะดิโนไวรัส 26 เมื่อฉีดไปแล้ว 3 อาทิตย์ ต้องกระตุ้นด้วยเข็มที่ 2 ที่ใช้อะดิโนไวรัส 5 สาเหตุที่ต้องใช้ไวรัส 2 ชนิด เพราะอะดิโนไวรัส เป็นไวรัสเหมือนกัน การฉีดเข็มแรกไป ร่างกาย จะรู้จักและสร้างภูมิต่ออะดิโนไวรัส 26 เช่นกัน ดังนั้นเพื่อให้การกระตุ้นเข็มที่ 2 ไม่ถูกรบกวนจากภูมิดังกล่าว เข็มที่ 2 จึงใช้ไวรัสต่างชนิดกัน คือ อะดิโนไวรัส 5

“สปุตนิก วี ก็คือการใช้วัคซีนของ จอห์นสันแอนด์จอห์นสัน เพราะใช้อะดิโนไวรัส 26 เหมือนกัน และการฉีดกระตุ้นด้วยวัคซีนแคนซิโน ไบโอโลจิกส์ ของจีน ใช้อะดิโนไวรัส 5 คล้ายๆ กับเราใช้วัคซีน 2 ยี่ห้อนี้ พร้อมๆกัน แต่การออกแบบแอนติเจนจะต่างกันเล็กน้อย โดยจอห์นสัน แอนด์ จอห์นสัน บอกว่าไม่ต้องกระตุ้นก็ได้ ใช้เข็มเดียวอยู่ แต่ สปุตนิก วี บอกว่า ถ้ากระตุ้นประสิทธิภาพของวัคซีนจะสูงขึ้นไปมากกว่า 90%”

จากข้อสงสัยหลายคน เกี่ยวกับประสิทธิภาพของวัคซีนสปุตนิก วี ต่อสายพันธุ์กลายพันธุ์ เพราะประสิทธิภาพที่ทดสอบในรัสเซียดูสูงมาก จนหลายๆ คนไม่เชื่อ โดยมีการทดสอบในแล็บที่น่าเชื่อถือได้ในสหรัฐฯ โดยนำซีรั่มของคนที่ได้วัคซีนสปุตนิก วี ครบ 2 เข็ม มาทดสอบความสามารถยับยั้งไวรัสตัวแทน ที่มีโปรตีนสไปค์ของสายพันธุ์ G สายพันธุ์อังกฤษ สายพันธุ์แอฟริกาใต้ และสายพันธุ์ G กลายพันธุ์แค่ตำแหน่ง E484K มีหน้าตาใกล้เคียงกับสายพันธุ์เบงกอลของอินเดียขณะนี้

“ผลเป็นไปตามคาด ซีรั่มจากวัคซีนได้ผลดีมากกับสายพันธุ์ G ดั้งเดิม และสายพันธุ์อังกฤษ แต่วัคซีนน่าจะใช้ไม่ค่อยดีกับสายพันธุ์แอฟริกาใต้ เพราะภูมิตกลงมาชัดเจน เพียงแค่มี E484K เพิ่มเข้าไปในสายพันธุ์ G ก็ทำให้ภูมิจากวัคซีนเอาไม่ค่อยอยู่ แสดงว่ามาไม่ต้องตัวจริงมา แค่น้องๆ อย่างสายพันธุ์เบงกอล ก็คงจะสร้างความปั่นป่วนได้ไม่น้อย”



สรุปถ้าไทยป้องกันสายพันธุ์อื่น ไม่ให้เข้ามาได้ หรือแก้ไขอย่างรวดเร็ว ทำให้วัคซีนสปุตนิก วี ของรัสเซียน่าจะช่วยแก้ไขปัญหาของสายพันธุ์อังกฤษในประเทศได้ดี.

ຂໍ້ມູນໂຄວິດ-19 ວັນທີ 14/5/2021 ສປປ ລາວ ພົບຜູ້ຕິດເຊື້ອໃໝ່ 16

ຂໍ້ມູນໂຄວິດ-19 ວັນທີ 14/5/2021 ສປປ ລາວ ພົບຜູ້ຕິດເຊື້ອໃໝ່ 16